วิทยาศาสตร์

นายประพันธ์ อ่อนละม้าย

ครูชำนาญการพิเศษ

หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

เกี่ยวกับดาวศุกร์

ดาวศุกร์ ดาวเคราะห์ที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่สอง มีขนาดใกล้เคียงกับโลก จึงชื่อว่าเป็น "ฝาแฝดโลก" ดาวศุกร์มีวงโคจรอยู่ชั้นในเช่นเดียวกับดาวพุธ จึงทำให้เราสามารถมองเห็นดาวศุกร์ได้เช่นเดียวกับดาวพุธคือ ทางด้านทิศตะวันตกหลังอาทิตย์ลับของฟ้าไปแล้วสูงประมาณ 45 องศา เรียกว่าดาวศุกร์นี้ว่า "ดาวประจำเมือง" และด้านทิศตะวันออกก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น เรียกว่า "ดาวรุ่ง" หรือ "ดาวประกายพรึก" ซึ่งเราสามารถมองเห็น เป็นดาวเด่นอยู่บนท้องฟ้าสวยงามมาก ชาวกรีกโบราณจึงยกให้ดาวศุกร์แทน เทพวีนัส เทพแห่งความงาม เมื่อมองด้วยกล้องโทรทรรศน์จะเห็นลักษณะของดาวศุกร์เว้าแว่งเป็นเสี้ยวคล้าย กับดวงจันทร์เช่นกัน

เปลือกชั้นนอกของดาวศุกร์ จะเป็นชั้นของหินซิลิเกตมีหลุมอุกกาบาตไม่มาก มีที่ราบขนาดใหญ่สองแห่งคือ ที่ราบอะโฟรไดท์ ( Aphrodite) ขนาดราวทวีปอัฟริกา และที่ราบอิชทาร์ (Ishtar) ขนาดราวทวีปออสเตรเลีย และมีแนวภูเขาเหยียดยาว กับปล่องภูเขาไฟที่พ่นธารลาวาออกมา ชั้นกลางเป็นหินกับโลหะ ส่วนแกนกลาง เป็นเหล็กและนิเกิลที่หลอมเหลว

บรรยากาศของดาวศุกร์ ประกอบด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 97% ไนโตรเจน 3.5% ซัลเฟอร์ไดออกไซด์และ อาร์กอน 0.5% มีชั้นเมฆคาร์บอนไดออกไซด์ที่หนาทึบมาก ปกคลุมดาวศุกร์ทั้งดวงทำให้สะท้อนแสงอาทิตย์ได้ดี จึงเห็นดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์ที่สว่างสุกใสมาก และยานอวกาศที่ไปสำรวจดาวศุกร์ก็ไม่สามารถถ่ายภาพพื้นผิว โดยตรงได้ ต้องอาศัยคลื่นเรดาห์ผ่านทะลุชั้นเมฆแล้วนำมาวิเคราะห์ด้วยคอมพิวเตอร์อีกครั้งอุณหภูมิของดาวศุกร์ ด้วยชั้นเมฆหนาของดาวศุกร์ทำให้เกิดสภาวะเรือนกระจก อุณหภูมิบนดาวศุกร์สูงมาก ประมาณ 500 องศาเซลเซียส ตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ (Transit of Venus) เป็นปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ ที่เกิดขึ้นเมื่อดาวศุกร์เคลื่อนที่ผ่านแนวเส้นตรงที่เชื่อมระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ คนบนโลกจะเห็นดาวศุกร์เป็นดวงกลมดำขนาดเล็กเคลื่อนที่ผ่านดวงอาทิตย์ การผ่านหน้าคล้ายกับสุริยุปราคาที่เกิดจากดวงจันทร์บดบังดวงอาทิตย์ ต่างกันตรงที่ ดาวศุกร์อยู่ห่างจากโลกมากกว่าดวงจันทร์ (แม้ว่าจะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่า) เราจึงมองเห็นดาวศุกร์ มีขนาดเล็กมาก ในอดีตนักดาราศาสตร์ใช้ปรากฏการณ์นี้ในการวัดระยะทางระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์โดยอาศัยการเกิดแพรัลแลกซ์เจเรไมอาห์ ฮอร์รอกส์ นักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษเป็นคนแรกที่ได้คำนวณและสังเกตเห็นการเคลื่อนตัวในวงโคจรของดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ดังกล่าว เมื่อเวลาตั้งแต่ 15.15 น. จนดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2182

ดวงศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ครั้งต่อไปมีให้เห็นได้ทั่วประเทศไทยในตอนเช้าวันที่ 6 มิถุนายน 2555

แม้ว่าเราจะชมปรากฏการณ์ “ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์” ที่ไหนก็ได้หากมีอุปกรณ์กรองแสงอาทิตย์ที่เหมาะสม แต่ก็มีหลายหน่วยงานทั่วประเทศที่ร่วมกันจัดกิจกรรมรับปรากฏการณ์ดาราศาสตร์แห่งศตวรรษนี้ ซึ่งนอกจากได้ยลความงามของดาราศาสตร์แล้ว ยังได้ความรู้จากวิทยากรในงานด้วย

ทั้งนี้ คนไทยมีโอกาสชมปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ (Transit of Venus) ได้ตั้งแต่หลังดวงอาทิตย์โผล่พ้นขอบฟ้าเวลา 05.49 น.จนถึงเวลา 11.49 น.ของวันที่ 6 มิ.ย.55 ซึ่งมีหลายหน่วยงานร่วมจัดกิจกรรมรับปรากฏการณ์แห่งศตวรรษที่ในรอบ 100 กว่าปี จะเกิดปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ 2 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 8 ปี (ก่อนหน้านี้ เกิดปรากฏการณ์เดียวกันเมื่อวันที่ 8 มิ.ย.47) และหลังจากครั้งนี้จะเกิดปรากฏการณ์ขึ้นอีก 2 ครั้ง ในวันที่ 11 ธ.ค.2660 และ 8 ธ.ค.2668

คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์โลกและดาราศาสตร์ (LESA) จัดกิจกรรมตั้งแต่เวลา 05.00-12.00 น.ณ บริเวณสนามหญ้าหน้าหอประชุมใหญ่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝั่งด้านสระน้ำและบริเวณโดยรอบสระน้ำ ซึ่งผู้สนใจสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

ส่วนคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมชมปรากฏการณ์ ณ บริเวณหน้าอาคารเฉลิมพระเกียรติ พร้อมจัดการเสวนาในรูปแบบ “ไซน์คาเฟ่” (Science Cafe) ณ ห้องประชุม k 102 อาคารเฉลิมพระเกียรติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมี ศ.ดร.เดวิด รูฟโฟโล นักวิจัยด้านระบบสุริยะ พร้อมคณะบรรยายพิเศษเพื่อให้วามรู้แก่ผู้ร่วมกิจกรรรม

ทางด้าน สมาคมดาราศาสตร์ไทย ร่วมมือกับโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จัดกิจกรรมสังเกตปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ บริเวณสนามหญ้าตึกบัญชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เขาชะโงก จ.นครนายก พร้อมถ่ายทอดสดกิจกรรมผ่านเว็บไซต์ http://thaiastro.nectec.or.th

ขณะที่ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สดร.จัดกิจกรรมและตั้งจุดสังเกตการณ์ ลานหน้าอุทยานหลวงราชพฤกษ์ เชียงใหม่ พร้อมตั้งจุดถ่ายทอดสดปรากฏการณ์จาก สำนักงานสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา และโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฏิ์ ฉะเชิงเทรา ร่วมถึงสถาบันดาราศาสตร์และอวกาศเกาหลี ผ่านทางเว็บไซต์ www.narit.or.th

พร้อมกันนี้ สดร.ยังได้ร่วมมือกับเครือข่ายทั่วประเทศ จัดกิจกรรมชมปรากฏการณ์ดาวศุกร์ผ่านหน้าดวงอาทิตย์ โดยแบ่งพื้นที่ตามภาคต่างๆ ดังนี้

ภาคเหนือ

เชียงใหม่ - คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่/โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย/โรงเรียนอนุบาลบ้านคุณหมอ/โรงเรียนดาราวิทยาลัย

เชียงราย - มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

น่าน - โรงเรียนปัว อบจ.น่าน

แพร่ - โรงเรียนสองพิทยาคม

พิษณุโลก - มหาวิทยาลัยนเรศวร

อุทัยธานี โรงเรียนอุทัยวิทยาคม

กรุงเทพฯ ภาคกลางและภาคตะวันออก

กรุงเทพฯ - จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย/คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ฉะเชิงเทรา - โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์/หอดูดาวบัณฑิต

ชลบุรี - โรงเรียนวัดหนองยาง/โรงเรียนอนุบาลวัดอู่ตะเภา/โรงเรียนชุมชนวัดเขาไม้แก้ว /โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย/โรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค

ระยอง - โรงเรียนระยองวิทยาคม นิคมอุตสาหกรรม

ลพบุรี - มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

สระบุรี - โรงเรียนเสาไห้ “วิมลวิทยานุกูล”

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

อุบลราชธานี - มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

อุดรธานี - มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

นครราชสีมา - มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา/มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

ขอนแก่น - มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ภาคใต้

ภูเก็ต - มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

สงขลา - มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา/โรงเรียนวัดท่าแซ/โรงเรียนบ้านหินผุด/โรงเรียนชะแล้นิมิตรวิทยา/โรงเรียนควนเนียงวิทยา/โรงเรียนบ้านเทพา/กศน.อำเภอเทพา/กศน.อำเภอนาทวี/โรงเรียนหาดใหญ่เทคโนโลยี/โรงเรียนชุมชนนิคมสร้างตนเองเทพา/โรงเรียนสามัคคีศาสน์วิทยา/โรงเรียนส่องแสงพณิชยการกศน.อำเภอจะนะ/โรงเรียนสตรีศึกษา/โรงเรียนจริยธรรมศึกษามูลนิธิ/โรงเรียนส่งเสริมศาสนา/โรงเรียนมัธยมสิริวัณวรี 2 สงขลา/โรงเรียนสังคมอิสลามวิทยา โรงเรียนบุสตานุดดีน/โรงเรียนมุสลีมีนศึกษา/โรงเรียนบ้านตะเคียนเภา/โรงเรียนพัฒนาศาสตร์มูลนิธิ/โรงเรียนวรนารีเฉลิม

สตูล - โรงเรียนนิคมพัฒนาภาคใต้ 2/โรงเรียนดารุสมาอาเรฟมูลนิธิ/โรงเรียนพิมานพิทยาสรรค์/โรงเรียนบ้านเกาะสาหร่ายชัยพัฒนา/โรงเรียนบ้านทุ่งนุ้ย “มิตรภาพที่ 49”

นราธิวาส - โรงเรียนตากใบ โรงเรียนนราสิกขาลัย

ยะลา - โรงเรียนนิคมสร้างตนเองพัฒนาภาคใต้ 3/โรงเรียนบ้านจะรังตาดงมิตรภาพที่ 175/ โรงเรียนบ้านป่าหลัง/โรงเรียนบ้านบือยอง

ปัตตานี - โรงเรียนโพธิ์คีรีราชศึกษา/โรงเรียนวัดรังสิตาวาส

ตรัง - โรงเรียนบ้านควนตุ้งกู

นครศรีธรรมราช - โรงเรียนทางพูนวิทยาคาร

คลิกครับ — 4 ก.ย. 2013, 8:17:41